ม.วลัยลักษณ์ ร่วมภาคีฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนพัฒนา “ท่าศาลา เมืองอัจฉริยะ” มุ่งสร้างเมืองท่าศาลาให้ทันสมัย ปลอดภัยและมีความสุข

Facebook
Twitter
LinkedIn

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมภาคีฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนพัฒนา “ท่าศาลา เมืองอัจฉริยะ” มุ่งสร้างเมืองท่าศาลาให้ทันสมัย ปลอดภัยและมีความสุข

วันนี้ (18 มิ.ย.64) เวลา 09.00น. ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนพัฒนา “ท่าศาลา เมืองอัจฉริยะ” (Thasala Smart City) ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ม.วลัยลักษณ์ โดยมีนายวีระพรรณ สุขะวัลลิ  นายอำเภอท่าศาลา เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอเป้าหมายและทิศทางในการขับเคลื่อนไปสู่เมืองอัจฉริยะจากตัวแทนหน่วยงานราชการและภาคเอกชน ณ ห้องประชุมเขาหลวง ชั้น 2 อาคารสหกิจศึกษา พร้อมการประชุมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Microsoft Team ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการติดต่อโรคโควิด-19

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมภาคีฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนพัฒนา “ท่าศาลา เมืองอัจฉริยะ” มุ่งสร้างเมืองท่าศาลาให้ทันสมัย ปลอดภัยและมีความสุขศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเขียนแผนพัฒนา “ท่าศาลา เมืองอัจฉริยะ (Thasala Smart City)” ว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเรื่องเมืองอัจฉริยะ โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนไปสู่ Smart University 10 ด้าน ได้แก่ 1) โครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Smart IT Infrastructure) โดยการพัฒนาเครือข่ายสัณญาณอินเทอร์เน็ตในหอพักให้นักกศึกษาและอาจารย์ให้เร็วมากขึ้น รวมทั้งพื้นที่ส่วนรวมอื่นๆ 2) ระบบบริหารจัดการองค์กรอัจฉริยะ (Smart Organization) โดยมหาวิทยาลัยได้นำระบบบริหารจัดการสำนักงานดิจิทัล (DOMS) มาช่วยบริหารจัดการให้เป็นสำนักงานไร้กระดาษ และการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนงานจัดทำเอกสารเพื่อลงนาม การพิจารณาสั่งการ การให้ความเห็น การอนุมัติ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ขจัดปัญหาเรื่องการทำงานแบบเดิมที่ต้องลงนามในกระดาษ และต้องทำงานในสำนักงานเท่านั้น จึงไม่มีความสะดวกหากบุคลากร หรือผู้บริหารอยู่นอกพื้นที่ก็ไม่สามารถสอนุมัติสั่งการได้ 3) การจัดการเรียนการสอน (Smart Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในห้องเรียนปกติกับการสอนออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีเทคโนโลยีดิจิทัลที่รองรับกระบวนการเรียนการสอน และเอื้อประโยชน์ให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทุกที่ ทุกเวลา 4) การบริหารห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ขณะนี้มหาวิทยาลัยมีห้องเรียนอัจฉริยะทั้งหมอ72 ห้องและอาคารเรียนที่กำลังก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จที่จะเป็นห้องเรียนอัจฉริยะทั้งหมดเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และการสอนให้กับคณาจารย์และนักศึกษา 5) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย (Smart Life & Health) การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งหอพัก สวนวลัยลักษณ์ ศูนย์อาหารช่อประดู่ เป็นต้น รวมทั้งการปรับปรุงสนามกีฬาทุกประเภทให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อความสุขและสุขภาพที่ดีของทุกคน 6) ระบบศูนย์การแพทย์อัจฉริยะ (Smart Hospital) โดยการพัฒนาศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้มีศักยภาพสูงและเป็นเสาหลักด้านสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 7) ระบบการขนส่งอัจฉริยะ (Smart Transportation) โดยการนำรถไฟฟ้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาและบุคลากร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการสูญเสียและการรอคอย การพัฒนาระบบเครือข่ายรองรับ Smart Transportation ระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์ พร้อม Mobile Application เพื่อสนับสนุนการให้บริการยานพาหนะแบบอัจฉริยะ 8) ความปลอดภัยอัจฉริยะ (Smart Security) ขณะนี้มหาวิทยาลัยมีกล้อง CCTV จำนวน 550 ตัวทั่วพื้นที่มหาวิทยาลัย พร้อมห้องควบคุมและเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชม. ตลอดจนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและสายตรวจที่ช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 9) การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Smart Green University) มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (UI GreenMetric World University Ranking) ได้ประกาศผล การจัดอันดับ มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2020 ผลคือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของภาคใต้ และ 10) สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farming) ด้วยการพัฒนาต้นแบบ Smart Farming ที่มีระบบสารสนเทศบริหารจัดการฟาร์มแบบครบวงจรตั้งแต่การเตรียมดิน เพาะปลูก ใส่ปุ๋ย การตลาด การขนส่ง ช่องทางการจัดจำหน่าย ต้นทุน และรายได้ โดยเป็นระบบอัจฉริยะ ออนไลน์ เรียลไทม์ ประยุกต์ใช้โดรน (Drone) ในการบริหารจัดการฟาร์ม

          ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ “เป็นองค์การธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล” ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงมีแนวคิดในการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาเมืองท่าศาลา ไปสู่ Thasala Smart City โดยให้ประชาชนในเมืองท่าศาลา ได้อยู่อาศัยในเมืองอย่างปลอดภัยและมีความสุข มีความสะดวกสบายในการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแบบ One Stop Service โดยในเบื้องต้นได้ร่วมคิดถึงความ Smart ใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) Smart Mobility ระบบให้บริการยานพาหนะในการเดินทางแบบอัจฉริยะ 2) Smart Environment ระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ ระบบรายงานข้อมูลสถานีวัดอากาศ 3) Smart Living ระบบความปลอดภัยโดยติดตั้งกล้องวงจรปิด ที่สามารถตรวจจับใบหน้า ป้ายทะเบียนรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ ตรวจจับความเร็วรถยนต์ เป็นต้น 4) Smart Governance เป็นการสร้างช่องทางติดต่อประสานงานระหว่างประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐ ผ่านแอพลิเคชั่นและ One Stop Service 5) Smart Economy พัฒนาแพลตฟอร์มในการขายสินค้าออนไลน์ให้กับชุมชน มีการอบรมและให้ความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า การออกแบบ Packaging ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กับประชาชนและ 6) Smart Energy การใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานกังหันลมเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

          การประชุมเชิงปฏิบัติการการเขียนแผนพัฒนา “ท่าศาลา เมืองอัจฉริยะ (Thasala Smart City)” ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส มาให้ความรู้ในการจัดทำแผนพัฒนาท่าศาลาเมืองอัจฉริยะ ทางระบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Microsoft Team พร้อมผู้ร่วมประชุมจากหน่วยงานราชการอำเภอท่าศาลา เทศบาลตำบลท่าศาลา องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลาและสถานีตำรวจภูธรท่าศาลาและผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการติดต่อโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมภาคีฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนพัฒนา “ท่าศาลา เมืองอัจฉริยะ” มุ่งสร้างเมืองท่าศาลาให้ทันสมัย ปลอดภัยและมีความสุขม.วลัยลักษณ์ ร่วมภาคีฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนพัฒนา “ท่าศาลา เมืองอัจฉริยะ” มุ่งสร้างเมืองท่าศาลาให้ทันสมัย ปลอดภัยและมีความสุข

ประมวลภาพ

ข่าวและภาพโดย นางสาวชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร