ม.วลัยลักษณ์ จับมือ ททท. เอ็มโอยูขับเคลื่อนการท่องเที่ยวมิติใหม่ด้วย Application มานะ มานครฯ

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา  ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.)  และ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกัน ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ททท.กับ มวล. ซึ่ง ททท.นครศรีฯ และมวล. ได้ร่วมกันจัดทำ Application มานะ มานคร เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในมิติใหม่ที่ก้าวทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมี นายเอกวิทย์ มีเพียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนผู้บริหารของม.วลัยลักษณ์ ผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชน สายการบิน สื่อมวลชน ร่วมกันเป็นสักขีพยานการลงนาม ณ ห้องศรีธรรมราช อาคารสถาปัตยกรรมฯ  พร้อมร่วมกันมอบตั๋วรางวัลเครื่องบินจาก 5 สายการบิน ให้แก่ผู้โชคดีจากการร่วมกิจกรรม Nakhon City Night Tour

Walailak Weekly ฉบับที่ 71 ประจำเดือน กันยายน 64 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รู้สึกเป็นเกียรติที่ ททท.เล็งเห็นศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยพลิกฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว ด้าน Digital Marketing โดยปัจจุบันสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันต่อยอดงานวิจัยพัฒนาเป็น Mobile Applications “มานะ มานคร” ซึ่งใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า AR มาประยุกต์ใช้ในการทำการตลาด ตอบโจทย์ Lifestyle ของนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในท้องถิ่นให้มีรายได้เพิ่มขึ้น  Applications “มานะ มานคร” อาจถือได้ว่าเป็นการต่อยอดงานวิจัยเพื่อนำมาใช้งานอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง ด้านนางพิชญ์สินี ทัศน์นิยม ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ททท.พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตามนโยบายรัฐบาลในการเปิดประเทศและยกระดับประเทศไทยสู่ Truly world-class destination โดยเน้นย้ำให้นักท่องเที่ยวที่มีแผนการเดินทางคำนึงถึงความปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง และเงื่อนไขให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับวัคซีน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่น้อยและมีมาตรการ กำกับเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อ สถานประกอบการได้รับ มาตรฐาน SHA+ ตามแบบการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) ดังนั้น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศด้าน Digital Marketing มาพัฒนาเป็น Application มานะ มานครดึงระบบ AR มาใช้ เป็นการตอบโจทย์ Lifestyle ของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Gen Y คืออายุระหว่าง 18 – 35 ปีและกลุ่มวัยทำงาน อายุระหว่าง 25- 45 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันเพื่ออำนวยความสะดวก และค้นหาข้อมูลในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญเป็นกลุ่มที่ไปเที่ยวที่ไหนแล้วมักบันทึกภาพ ในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ถึงร้อยละ 73 ดังนั้น Application มานะ มานคร จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มความถี่ด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ททท. สำนักงานนครศรีธรรมราช ได้กระจายจุด Check in  รวม  31 จุด ภายใน 16 อำเภอนำร่อง จาก 23 อำเภอ

Walailak Weekly ฉบับที่ 71 ประจำเดือน กันยายน 64Walailak Weekly ฉบับที่ 71 ประจำเดือน กันยายน 64

Walailak Weekly ฉบับที่ 71 ประจำเดือน กันยายน 64Walailak Weekly ฉบับที่ 71 ประจำเดือน กันยายน 64

ภายใต้ นิยาม ( Value Proposition ) เที่ยวสนุก สุข สะสม พร้อมทั้งผนวก Application หรอยจัง ที่ทาง มวล ได้จัดทำขึ้นเป็นการบอกเรื่องราวอัตลักษณ์ของอาหารถิ่น นอกจากนี้ Application มานะ มานคร ยังเป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน SHA หรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรฐาน SHA ได้สมัครร่วมโครงการมากกว่า 200 แห่ง พร้อมนำเสนอส่วนลด รวมถึงการสะสมแต้มเพื่อแลกรางวัล เช่น ผู้ประกอบการมอบส่วนลด 5 เปอร์เซ็นต์ และ 10 เปอร์เซ็นต์ จากการสะสมจุด Check in 10 และ 20 จุดตามลำดับ หรือนำมาแลกรางวัลจาก ททท หมอนรองคอ  หรือกระเป๋าล้อลาก จากการสะสมจุด Check in 15 จุด และ 25 จุด ถือเป็นการส่งมอบคุณค่าและพัฒนาต่อยอดต่อไป นอกจากนี้ ในวันดังกล่าว ททท.และพันธมิตรด้านการท่องเที่ยว มอบบัตรโดยสารเที่ยวบินจาก 5 สายการบิน ให้กับผู้โชคดี จากการร่วมกิจกรรม Nakhon City Night Tour ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานนครศรีธรรมราช กล่าวในตอนท้ายว่า นครศรีธรรมราช มีความตื่นตัวของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในเรื่องการขอรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยของสถานประกอบการ SHA (Safety & Health Administration) ซึ่งในขณะนี้มีจำนวน 122 ราย ส่วนการยกระดับสู่มาตรฐาน SHA+ นั้น จะเป็นการร่วมมือกันของพันธมิตรทางการท่องเที่ยว โดยมีคณะกรรมการพิจารณามาตรฐาน SHA+  แต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัด  ให้ปฏิบัติหน้าที่พิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมมาตรฐาน SHA+ ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด (Standard Operation Procedure SOP) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางแก่นักท่องเที่ยว เตรียมความพร้อมที่จะเปิดประตูเมืองให้การท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง

ข่าวเด่นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์