กิจกรรม Soft Power จากแนวคิดแบบตะวันตกสู่การปฏิบัติจริงของไทย

กิจกรรม Soft Power

ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรม Walailak Knowledge Sharing Soft Power จากแนวคิดแบบตะวันตกสู่การปฏิบัติจริงของไทย เพื่อปรับความรู้และความเข้าใจแนวคิด Soft Power ให้ถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แลการปฏิบัติงานจริงในองค์กร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฟารีดา  เจะเอาะ ผู้ช่วยอธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ กล่าวเปิดกิจกรรม อาจารย์ ดร.วศิน ประดิษฐศิลป์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ สำนักวิชาการจัดการ ม.วลัยลักษณ์ และคุณบุญญ์พัชรเกษม เสริมวัฒนากุล กรรมการผู้จัดการ 189 Communications Intelligence ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “Soft Power – จากแนวคิดแบบตะวันตกสู่การปฏิบัติจริงของไทย” โดยมี นักวิชาการ อาจารย์ บุคลากรและผู้สนใจจากหน่วยงานภายในและภายนอกเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting และรับชมการถ่ายทอดสดทางเพจ Facebook : Walailak Channel เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฟารีดา  เจะเอาะ กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของส่วนสื่อสารองค์กร และสำนักวิชาการจัดการ ม.วลัยลักษณ์ ภายใต้โครงการ Walailak Knowledge Sharing ซึ่งเป็นโครงการในส่วนของแผนงานการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร  มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง Soft Power ที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้คนในปัจุบันและเพื่อเป็นการสานความสัมพันธ์อันดีและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การจัดกิจกรรม Walailak Knowledge Sharing ในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นทั้งบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและประชาชนผู้สนใจจากภายนอก ถือเป็นอีกภารกิจที่ส่วนสื่อสารองค์กรให้ความสำคัญ ในการเปิดพื้นที่สื่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ แก่สาธารณะและสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฟารีดา  กล่าวต่อไปอีกว่า หัวข้อ“Soft Power – จากแนวคิดแบบตะวันตกสู่การปฏิบัติจริงของไทย” เป็นการพูดถึง “อำนาจ” ที่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง การควบคุม บังคับ หรือบอกว่าจะต้องทำอะไร อย่างนั้น อย่างนี้ หมายความว่า ผู้ที่ปฏิบัติอาจจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ได้ แต่จำเป็นที่จะต้องทำ ทำให้เกิดคำถามว่าอำนาจมีด้านเดียวหรือไม่ ทำให้มีผู้ศึกษาเรื่องอำนาจในเชิงการสร้างสรรค์ อาจไม่ใช่การถูกบังคับ หรือสั่งให้ทำ “อำนาจ” ในเชิงสร้างสรรค์ เป็นความสำคัญในมิติของกลุ่มที่เป็นผู้บริโภค ผู้รับสาร หรือผู้ที่มีส่วนในการผลักดันในการทำกิจกรรมบางอย่างให้ประสบความสำเร็จ ภาษาไทย เรียกว่า “อำนาจละมุน” ซึ่งเป็นการนำความรัก ความเข้าใจเข้ามาใส่ในอำนาจ จากแนวคิดแบบตะวันตกสู่การปฏิบัติจริงของไทย เป็นกรณีหรือวิธีการศึกษาในเชิงโครงสร้างหรือเชิงนโยบายในระดับประเทศซึ่งนับเป็นโชคดีและเป็นเกียรติที่วิทยากรผู้มากความสามารถ ทั้งอาจารย์ ดร.วศิน ประดิษฐศิลป์, PhD (International Communication and Soft Power) อาจารย์ประจำหลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เจ้าของดุษฎีนิพนธ์หัวข้อ Crafting Soft Power in Thailand และคุณบุญญ์พัชรเกษม เสริมวัฒนากุล, กรรมการผู้จัดการ 189 Communications Intelligence ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมการทูตวัฒนธรรมของไทยในต่างประเทศให้เกียรติถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้ในกิจกรรมครั้งนี้ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีผู้ลงทะเบียนกว่า 60 คน จากหลายจังหวัด อาทิ กรุงเทพฯ อุบลราชธานี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยเข้าร่วมผ่าน Zoom Meeting และทาง Facebook Live Walailak Channel